หว้า
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Syzygium cumini)
หว้า | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
เคลด: | โรสิด |
อันดับ: | อันดับชมพู่ |
วงศ์: | วงศ์ชมพู่ |
สกุล: | ชมพู่ (L.) Skeels.[2] |
สปีชีส์: | Syzygium cumini |
ชื่อทวินาม | |
Syzygium cumini (L.) Skeels.[2] | |
ชื่อพ้อง[2] | |
รายการ
|
หว้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Syzygium cumini) เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี[3]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ลักษณะ ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่
ประโยชน์
[แก้]- เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
- เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม
- ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด
- เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ
- ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปวัดพร้อมธูปเทียนเพื่อใช้บูชาพระ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีม่วง[4]
- ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้รากนำไปต้มกับน้ำและดื่มเพื่อชูกำลัง[5]
ภาพ
[แก้]-
หน่อต้นไม้
-
ต้นหว้า
-
ภาพใกล้ของกลุ่มใบ
-
ต้นอ่อน
-
เมล็ด
-
เมล็ด
-
ดอกตูมและดอกบาน
-
ผลในระดับความสุกที่แตกต่างกัน
-
ผล
-
ผล
-
ผลสุกที่ขายในตลาด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Botanic Gardens Conservation International (BGCI).; IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2019). "Syzygium cumini". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T49487196A145821979. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T49487196A145821979.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 แม่แบบ:WCSP
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่ออ้างอิง
- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Syzygium cumini
- แม่แบบ:PFAF